EN
ประชาพิจารณ์

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

  • 25/06/62
  • 21,173 views

โครงการนี้อนุญาตให้เอกชนเข้าร่วมทุนในการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย การก่อสร้างความพร้อมในการให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)  ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2 ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2  ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะที่ 2 และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)

ที่ตั้งโครงการ

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่โดยรอบประมาณ 6,500 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง

ลักษณะโครงการ

โครงการนี้ให้เอกชนเข้าร่วทุนในการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน พัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วยการก่อสร้างพร้อมให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway) ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2 ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2  ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะที่ 2 และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)

สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน

โดยปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี และหลังจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เปิดให้บริการจะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

แผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการให้ปัจจุบัน (Brownfield) ที่ภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม ทางวิ่งที่ 2 (Runway 2) ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยาย ตัวของสนามบิน และเปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ (Greenfield) ซึ่งภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1 และศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ระยะที่ 1 ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เป็นสนามบินนานาชาติหลักแห่งที่ 3 ของประเทศไทยและธุรกิจต่อเนื่อง เป็นเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub ที่สำคัญในภูมิภาค

องค์ประกอบโครงการ

  1. อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)
  2. ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2
  3. ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2
  4. ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 2
  5. กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)

มูลค่าการลงทุนโครงการให้เอกชนเข้าร่วมทุนฯ

อยู่ระหว่างการศึกษา

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯ

ประมาณ 30 - 50 ปี ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา

ผลตอบแทนโครงการ (project return)

อยู่ระหว่างการศึกษา

รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน

ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public private partnership: PPP) รายละเอียดอยู่ระหว่างการศึกษา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

http://www.utapao.com/

ศูนย์ซ่อมบำรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา

http://social.thaiairways.com/news-promotions/

ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา

http://www.catc.or.th/

การวางแผนแม่บท "โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่โดยรอบ จังหวัดระยอง"

http://www.easternairportcity.com/

กำหนดระยะเวลาประชาพิจารณ์ : 25 มิ.ย. 62 - ไม่ระบุ
Share :
UIA MS3 Presentation_KPMG UIA MS3 Presentation_KPMG.pdf
UIA MS3 Presentation_AECOM UIA MS3 Presentation_AECOM.pdf

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น