EN

Our Story

 

UTAPAO INTERNATIONAL AIRPORT

ประวัติความเป็นมา (History of UTAPAO)

28 มิถุนายน 2519

สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากประเทศไทยทั้งหมด  กค. ออกประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 68 (พ.ศ.2519) กำหนดให้สนามบิน อู่ตะเภา เป็น สนามบินศุลกากร คือ สามารถขนส่งสินค้าระหว่างประเทศผ่านทางสนามบินนี้ได้

21 กุมภาพันธ์ 2532

           ครม.มีมติให้กระทรวงกลาโหม (ทร.) กับ กรมการบินพาณิชย์ ได้ร่วมกันบริหารสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ พร้อมดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร ๑ หลัง วงเงิน ๑๒๐ ล้านบาท โดยแบ่งหน้าที่ดังต่อไปนี้

           กองทัพเรือ กำกับดูแลในเรื่อง การเงิน การบัญชี การควบคุมจราจรทางอากาศ เครื่องช่วยเดินอากาศ  การพัสดุ และการรักษาความปลอดภัย

           กรมการบินพาณิชย์ กำกับดูแลในเรื่อง พิธีการบิน การพัฒนาสนามบิน ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ

ในด้านการบิน

7 มีนาคม 2533

           กห.ออกคำสั่ง คำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 30/33 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสนามบินอู่ตะเภา

31 ตุลาคม 2539

 ทร. ได้อนุมัติให้จัดตั้งอัตรากองการท่าอากาศยาน   อู่ตะเภา (เพื่อพลาง) จำนวน 107 อัตรา เพื่อเตรียมการด้านกำลังพล ในระหว่างการขออนุมัติจัดตั้งสนามบินอู่ตะเภาเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ

5 สิงหาคม 2548

ทร. อนุมัติให้ปรับโครงสร้างจากกองการท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็น

“การท่าอากาศยานอู่ตะเภา”แบ่งเป็น 5 กองและปรับอัตรากำลังพลข้าราชการและ

ลูกจ้างชั่วคราวจาก 112 อัตรา เป็น 132 อัตราจัดเก็บรายได้และใช้จ่ายในลักษณะ

เงินนอกงบประมาณประเภทเงินฝาก

 

 

 

เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง พ.ศ. 2548

 

 

 

เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554

เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการคมนาคมทางอากาศของประเทศ รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อก่อสร้าง อาคารพักผู้โดยสารและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้รองรับจำนวนผู้โดยสารได้อย่างน้อย 3 ล้านคน/ปี

  • ปี งป.53

    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากตามแผนปฏิบัติการเข้มแข็ง 2555 ที่เกี่ยวข้องการท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 3 รายการ

    1. งานก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร จำนวน  1 หลัง วงเงิน 600,000,000 บาท

    2. งานก่อสร้างลานจอดเครื่องบิน พร้อมทาสีจราจร วงเงิน 100,000,000 บาท

    3. งานจัดหาเรดาร์ตรวจอากาศ จำนวน 1 ชุด วงเงิน 150,000,000 บาท

  • ปี งป.59

    1. ปรับปรุงระบบจ่ายน้ำมันทางท่อ วงเงิน 70,000,000 บาท

อู่ตะเภาในอนาคต (A Bright Future )

ลักษณะโครงการ

     โครงการนี้ให้เอกชนเข้าร่วทุนในการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน พัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วยการก่อสร้างพร้อมให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway) ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2 ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2  ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะที่ 2 และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)

สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน

     โดยปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี และหลังจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เปิดให้บริการจะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

      แผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการให้ปัจจุบัน (Brownfield) ที่ภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม ทางวิ่งที่ 2 (Runway 2) ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยาย ตัวของสนามบิน และเปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ (Greenfield) ซึ่งภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1 และศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ระยะที่ 1 ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

     เป็นสนามบินนานาชาติหลักแห่งที่ 3 ของประเทศไทยและธุรกิจต่อเนื่อง เป็นเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub ที่สำคัญในภูมิภาค

องค์ประกอบโครงการ

  • อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)
  • ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2
  • ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2
  • ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 2
  • กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)